อะไรมากับความึด

เกี่ยวกับฉัน

Powered By Blogger

รายการบล็อกของฉัน

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เป็นความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)
สงครามโลกครั้งที่1

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือ ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ซึ่งประกอบไปด้วยเยอรมนี และอิตาลี กับฝ่าย (Triple Entente) ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศสและรัสเซีย เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 – 1918

ประวัติ

ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance ขึ้น

ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907

จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับ

หลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915

ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน

ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม

ผลกระทบ

หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมรบและประกาศศักดาในสงครามครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลกเสรีบนเวทีโลกเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส
รัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม หลังจากเลนินทำการปฏิวัติยึดอำนาจ และต่อมาเมื่อสามารถขยายอำนาจไปผนวกแคว้นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922
เกิดการร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (The Treaty of Veraailles) โดยฝ่ายชนะสงครามสำหรับเยอรมนี และสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับสำหรับพันธมิตรของเยอรมนี เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม ในสนธิสัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้แพ้ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหาร อาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดนจนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงก่อให้เกิดภาวะตึงเครียดขึ้น
เกิดการก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งท้ายสุดประเทศมหาอำนาจเผด็จการทั้งสามได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis)
มีการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เป็น ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคง ปลอดภัยและสันติภาพในโลก แต่ความพยายามดังกล่าวก็ดูจะล้มเหลว เพราะในปี ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามที่รุนแรงขึ้นอีกครั้ง นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่สอง

เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

ต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและแสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียวกัน แต่แยกกันด้วย "การหยุดยิง"

การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน



ประเทศในฝ่ายพันธมิตรแสดงในสีเขียว และฝ่ายอักษะแสดงในสีส้ม



สมรภูมิทางตะวันออก

สมรภูมิทางตะวันออก ซึ่งรับผิดชอบโดยญี่ปุ่นเป็นด้านหลัก โดยมีชื่อเรียกยังสามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ

* สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่2อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง(นานกิง )ที่เป็นเมืองหลวงของจีน(ของรัฐบาลก๊กมินตั่งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้ ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรค คอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น(ประชาธิปไตย)ที่ มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้ เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ"สงคราม กองโจร" ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่ เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ ฉ่งชิ่ง(จุงกิง)และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของอีกฝ่าย หนึ่ง แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์ ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึก โกรธมากที่ภายในพรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์ สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมาเจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไปร่วมทำงานกับเหมา เจ๋อตุง แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลาเดียวกัน กลับวิจารณ์ เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ ทำให้ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรือมิส ซูรีที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย
* สมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถ้าไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวิชีแล้ว สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด



สมรภูมิทางตะวันตก

สมรภูมิทางตะวันตก ซึ่งมีเยอรมนีเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยยังสามารถแยกย่อยให้เป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ

* สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ได้แก่ ในฝรั่งเศส ประเทศต่ำ(เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบอร์ก)และในสแกนดิเนเวีย ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยึดครอง และการยุทธแห่งเกาะบริเตนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์ที่หันไปให้ความสำคัญกับยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ซึ่งเป็นแนวรบที่เยอรมนีได้ทำการโจมตีหลังจากได้เข้ายึดครองประเทศโปแลนด์แล้ว และได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามอีกครั้งหลังจากการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส และการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตามปฏิบัติการแอนซิโอ

* สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก ได้แก่ ในโปแลนด์ กรีซ (บางส่วน ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และสหภาพโซเวียต ซึ่งถ้าไม่นับรวมโปแลนด์แล้ว ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญการรุกรานจากเยอรมนีหลังจากสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งเยอรมนีได้บุกเข้าไปจนกินเนื้อที่จำนวนมาก แต่ทว่าก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมินี้อย่างถาวร เนื่องจากแนวรบที่กว้างขวางตั้งแต่ทะเลบอลติก (เลนินกราดหรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) จนถึงลุ่มแม่น้ำวอลก้า(สตาลินกราด) และแหลมไครเมีย สภาพอากาศที่โหดร้าย และการตอบโต้อย่างหนักจากสหภาพโซเวียต จนทำให้โดนฝ่ายสหภาพโซเวียตตีโต้กลับไปจนถึงกรุงเบอร์ลินในที่สุด

* สมรภูมิริมขอบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ในไซปรัส กรีซ (บางส่วน) ลิเบีย และอียิปต์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เคยอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษมาก่อน แต่ว่าอิตาลีและเยอรมนีต้องการ จึงได้เกิดสมรภูมิทะเลทรายอันลือลั่นขึ้น ในตอนแรกนั้น ฝ่ายอิตาลีไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้ แต่ว่าต่อมาฮิตเลอร์ได้ส่งจอมทัพเออร์วิน รอมเมลอันโด่งดังและกองกำลัง Afrika Korp เข้ามาทำให้สถานการณ์ของฝ่ายอักษะกลายเป็นฝ่ายรุก แต่ในที่สุด เนื่องด้วยฝ่ายอักษะไม่สามารถส่งกำลังบำรุงและทหารมาประจำการในสมรภูมิทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มาก เนื่องจากติดพันอยู่กับสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก และฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการฐานสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ด้วยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงได้เกิดปฏิบัติการทอร์ชขึ้น และสามารถขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากแอฟริกาเหนือได้


สมรภูมิรบ

สมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่2นั้นเกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยตามแผนเดิมของฝ่ายอักษะนั้น ต้องการที่จะบุกมาบรรจบกันที่อิหร่าน ซึ่งสามารถจำแนกสมรภูมิเป็นกลุ่มใหญ่ได้2กลุ่มคือ









การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2332 - 2342 เป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส และสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น. การปฏิวัตินี้มีความสำคัญ เพราะเป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป.



สาเหตุของการปฏิวัติ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
2. สภาพทางสังคม สมัยนั้นสังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ

* ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
o ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'?p?e) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
o ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
o ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม

* นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
o นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก พระคาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
o นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่พระสงฆ์ทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น

* ฐานันดรที่สาม (tiers ?tat) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)

สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ

สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause imm?diates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม

การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324

ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน. ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน. สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assembl?e des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330

ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les ?tats g?n?raux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์

Les ?tats g?n?raux

ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les ?tats g?n?raux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย

สภา les ?tats g?n?raux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่า Assembl?e Nationale ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ

สภา Assembl?e Nationale นี้ประกาศว่าสภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les ?tats g?n?raux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสภา Assembl?e Nationale ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประวัติโดยย่อ

จักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เกิดเมื่อปี คศ. 1167 แต่ตามประวัติศาสตร์ของ มองโกล จะระบุว่าเขาเกิดในปี ค.ศ.1162 อย่างไรก็ตามประวัติของ เจงกิสข่าน ก่อนเป็นจักรพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่พบได้น้อยมากชื่อเดิมของท่านคือ เทมูจิน ( Temujin ) จนมาถึงช่วงที่อายุ 9 ขวบก็พอจะทราบได้ว่า บิดาของท่านได้เสียชีวิตลง(ด้วยเหตุอันใดยังไม่ทราบแน่ชัด) หลังจากนั้นมารดาของท่านก็นำครอบครัวที่เหลือไปใช้ชีวิตอยู่บริเวณทะเลทราย ของมองโกเลีย เอาตัวรอดอยู่ด้วยธัญญาหารต่างๆ ระหว่างนั้นมาราดาของเจงกิสข่าน ได้สอนวิธีการยังชีพในสภาพแวดล้อมที่กันดารเช่นนั้นให้ท่านด้วย

ด้านรัฐศาสตร์

เจ งกิสข่านสามารถรวมเผ่ามองโกล ที่มีอยู่ มากมายหลายเผ่าเข้าเป็นสมาพันธ์ชาวเผ่าได้ตั้งแต่มีวัยเพิ่ง แตกพาน นับเป็นสมาพันธ์แห่งแรกของโลกก็ว่าได้ และต่อมามีการรวมตัวสมาพันธ์ดังกล่าว เข้าเป็นอาณาจักร เดียวกัน
โดยมีเจงกิสข่านเป็นกษัตริย์องค์แรก

มี การขยายอาณาจักรออกไปเรื่อยๆ จนอาณาเขตด้านตะวันออก จดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มองโกเลียกลาย เป็นมหาจักรวรรดิขึ้นในเวลาต่อมา

นอกจากการขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างไกลแล้ว ยังรวบรวมช่างฝีมือ
และผู้มีศิลปวิทยาการด้านต่างๆ ส่งกลับมายังมองโกเลียด้วย นอกเหนือจากทรัพย์สินเงินทองที่ยึดมาได้จากการบุกโจมตีอาณาจักรต่างๆ

ด้านการศาสนา

โดย ปรกติชาวมองโกเลีย นับถือศาสนาพุทธ และลัทธิ "เต็งกรี" หรือ ลัทธิบูชาเทพ ชาวมองโกเลียนับถือเจงกิสข่าน เป็นเทพองค์หนึ่ง เป็นเทพชั้นราชาแห่งสวรรค์ แต่พระองค์ก็ไม่ขัดขวาง หรือกดขี่ศาสนาอื่น ดังนั้น ในมองโกเลียจึงมีทุกศาสนา ไม่ว่าพุทธ อิสลาม คริสต์ หรือลัทธิเต็งกรี แม้แต่ในพระบรมราชวงศ์ ของเจงกิสข่านยังมีผู้นับถือศาสนา กันเกือบทุกศาสนา

ด้านการทหาร

ใน ยุคของเจงกิสข่าน ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า โลกได้รับความยับเยิน จากภัยสงครามมากกว่ายุคใดในสมัยโบราณ ไม่ว่าสงครามครูเสด สงครามรวมอาณาจักรจีน สงครามในเอเชียกลางไม่มีครั้งไหน ที่บ้านเมืองจะถูกทำลายยับเยิน และผู้คนจะเสียชีวิตมากมายเท่าครั้งนี้